เงินเฟ้อในกรุงโตเกียวเติบโตชะลอตัวลงในเดือนมีนาคม ซึ่งสนับสนุนให้ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ดำเนินนโยบายการเงินแบบระมัดระวังหลังจากประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2550 เมื่อวันอังคารที่ 19 มีนาคมที่ผ่านมา

กระทรวงกิจการภายในประเทศและการสื่อสารของญี่ปุ่นระบุว่าในวันนี้ (29 มีนาคม) ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (Core CPI) ซึ่งไม่รวมราคาอาหารสดในกรุงโตเกียวปรับตัวขึ้น 2.4% ในเดือนมีนาคม ซึ่งชะลอลงเล็กน้อยจาก 2.5% ในเดือนกุมภาพันธ์ แต่สอดคล้องกับการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์

ตัวเลขเกี่ยวกับเงินเฟ้อของกรุงโตเกียวนั้นถือเป็นเครื่องบ่งชี้แนวโน้มเงินเฟ้อทั่วประเทศของญี่ปุ่นที่มีกำหนดจะประกาศต่อสาธารณชนในวันที่ 19 เมษายน

สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับเงินเฟ้อด้านผู้บริโภคของกรุงโตเกียวมีการเพิ่มขึ้นประมาณหนึ่งสัปดาห์ หลังจากที่ BOJ ยุติใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยติดลบพร้อมให้คำมั่นว่าจะระงับการใช้นโยบายผ่อนคลายทางการเงิน

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเงินเฟ้อของกรุงโตเกียวชะลอตัวลง แต่ตลาดยังมีแนวโน้มจะจับตาความเป็นไปได้ในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มเติมของ BOJ โดยนักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ในผลสำรวจที่จัดทำโดยสำนักข่าวบลูมเบิร์กคาดการณ์ว่า BOJ จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกครั้งภายในเดือนตุลาคม

ส่วนคณะกรรมการกำหนดนโยบายของ BOJ จะประชุมครั้งถัดไปในเดือนเอเปริล โดยจะประกาศการปรับแนวโน้มเงินเฟ้อในการประชุมดังกล่าว

รายงานสรุปความคิดเห็นของที่ประชุม BOJ ในเดือนมีนาคมบ่งชี้ว่า เจ้าหน้าที่กำหนดนโยบายหลายคนของ BOJ ต้องการชะลอการยกเลิกการใช้นโยบายการเงินเชิงผ่อนคลายพิเศษ โดยเจ้าหน้าที่กำหนดนโยบายรายหนึ่งระบุว่า สภาพเศรษฐกิจญี่ปุ่นยังไม่เหมาะสมกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างรวดเร็ว

“แม้ว่า BOJ ยุตินโยบายอัตราดอกเบี้ยติดลบ แต่จำเป็นต้องดำเนินนโยบายแบบระมัดระวัง เนื่องจากเศรษฐกิจญี่ปุ่นยังไม่เอ

ื้อต่อการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างรวดเร็ว” เจ้าหน้าที่กำหนดนโยบายรายหนึ่งของ BOJ ระบุ